ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ดได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกัน ๕ ด้าน ดังต่อไปนี้
๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารและการปกครอง
๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการคลังและเศรษฐกิจของชุมชน
๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจราจร การขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน สังคม และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และยาเสพติด
๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุข การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาด้านการบริหารและการปกครอง
วัตถุประสงค์
มุ่งหวังที่จะให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ด เป็นผู้นำในการบริหารจัดการที่ดี ความโปร่งใสทั้งการบริหารและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
แนวทางการพัฒนา
๑. เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน
๒. พัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
๓. เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้มีความรู้ในเรื่องของกฎหมายและอื่น ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านการคลัง การเศรษฐกิจชุมชน
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินของ อบต.ให้มีความมั่นคงมีทรัพยากรการเงินที่คงที่ มีเศรษฐกิจที่ดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณให้มีคุณภาพ
แนวทางการพัฒนา
๑. พัฒนาระบบการจัดเก็บภาษี และรายได้อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำระบบเทคโนโลยีมาใช้งาน
๒. จัดทำระบบโปรแกรมแผนที่ภาษีที่ทันสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ด้านการจราจร การขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การผังเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
เพื่อมุ่งหวังให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ด ได้มีเส้นทางคมนาคมที่ครบถ้วน และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนในทุกด้านมีระบบประปาที่ดี มีแหล่งน้ำใช้ที่เพียงพอต่อการเกษตรและคมนาคมการระบายน้ำที่ดี มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาให้บริการแก่ประชาชน ส่งเสริมและอนุรักษ์รักษาส่งเสริม
แนวทางการพัฒนา
๑. ก่อสร้างถนนให้เพียงพอ
๒. จัดหาและจัดสร้างแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค ให้เพียงพอ
๓. จัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติตามและให้บริการแก่ประชาชน
๔. ส่งเสริม อบรม จัดตั้ง กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่
๕. ส่งเสริมให้มีการนำสิ่งของเหลือใช้นำกลับมาใช้ใหม่
๖. ควบคุมดูแลในเรื่องของการอนุรักษ์การก่อสร้างตาม พรบ.ควบคุมอาคาร
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านทรัพยกรมนุษย์ ชุมชน สังคม และความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินและยาเสพติด
วัตถุประสงค์
เพื่อยกระดับและมุ่งหวังให้ประชาชนในพื้นที่ผู้นำชุมชน สมาชิก ตลอดจนข้าราชการลูกจ้างในตำบลเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้านส่งเสริมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นสังคมที่เข็มแข็ง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและทำให้ชุมชนที่ไม่ต้องพึ่งพา ยาเสพติด
แนวทางการพัฒนา
๑. ส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมแก่ประชาชน และประชาชนทั่วไป
๒. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของสังคมในรูปแบบต่าง ๆ
๓. จัดหาอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ในเรื่องการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของ
ประชาชน
๑๐
๔. จัดตั้งและฝึกอบรม อปพร. หรือตำรวจชุมชนในพื้นที่สนับสนุนกิจการเกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยต่าง ๆ
๕. สร้างชุมชนให้มีการสอดคล้องตรวจสอบควบคุมและดูแลในเรื่องของยาเสพติด เพื่อไปสู่ชุมชนที่เข็มแข็ง
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ด้านคุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุข การกีฬา ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของท้องถิ่น
วัตถุประสงค์
มุ่งหวังเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลให้ได้รับโอกาสในการศึกษาการพัฒนาศักยภาพทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และรู้รักษาและส่งเสริมภูมิปัญญาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา
๑. จัดหาวัตถุ และอุปกรณ์ทางการศึกษาให้เพียงพอ
๒. จัดสร้างศูนย์บริการการเรียนรู้ของชุมชนและเด็ก เยาวชนและประชาชน
๓. ส่งเสริมให้เด็กเยาวชนประชาชนให้เข้ามาใช้อินเทอร์เน็ตตำบล
๔. จัดสร้างและจัดหาสถานที่ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาตลอดจนวัตถุอุปกรณ์ให้เพียงพอ
๕. ส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของท้องถิ่นทุกชนิด
๖. ส่งเสริมให้เด็กประชาชนทั่วไปได้มีกิจกรรมในด้านต่าง ๆ กับทางวัดในพื้นที่
๗. จัดสร้างสวนสาธารณะ สำหรับประชาชน
นโยบายการพัฒนาจังหวัด
๑. ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและวิถีวัฒนธรรมชุมชนอย่างยั่งยืน
๒. ส่งเสริมและพัฒนาการค้า การลงทุนสู่สากล
๓. ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารตำบล
– พัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ให้มีความคิดริเริ่ม
– ส่งเสริมความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ
– การให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
– การส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน
– การพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามความจำเป็นและเหมาะสมกับงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด
– การจัดลำดับปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ได้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะต้องพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นระบบ
วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น
พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ด ให้เป็นองค์กรของประชาชน สร้างการเรียนรู้ สร้างคน สร้างสังคม มุ่งสู่สังคมร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ มีการบริหารงาน การบริการอย่างทั่วถึง โดยสร้างความพึงพอใจให้ประชาชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาครัฐแนวใหม่ มุ่งสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
๑. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการ
๒. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ตลอดจนความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๓. ปรับปรุงและพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ และประชาชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน
๕.เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ดีของตำบลอย่างยั่งยืน
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๑. การคมนาคมมีความสะดวกและรวดเร็ว
๒. ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
๓. ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพียงพอ
๔. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
๕. มีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอ
๖. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ
๗. ส่งเสริมและบำรุงการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
๘. พัฒนาและส่งเสริมการกีฬา
๙. พัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต