ข้อมูลทั่วไป อบต.หนองเป็ด

๑.๑ ที่ตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ด จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลำดับที่ ๓๓ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๙ ประกาศราชกิจจานุเษกษา เล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๒ ง วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ จึงเป็นหน่วยงานการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองให้พัฒนาเจริญก้าวหน้าไปสู่จุดหมายที่วางไว้

nongped google map1

การพัฒนาที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสพผลสำเร็จสูงสุด จะต้องมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การจัดทำแผนพัฒนาสามปีจึงเป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถปฏิบัติงานและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเป็ด จึงได้จัดทำแผนพัฒนาสามปีซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงาน/โครงการที่จัดทำขึ้นสำหรับงบประมาณแต่ละปีและมีความต่อเนื่อง โดยเป็นแผนก้าวหน้าครอบคลุม เพื่อนำไปดำเนินการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีระบบและเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๘

ตำบลหนองเป็ด ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอศรีสวัสดิ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์ ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร (ข้ามแพขนานยนต์) ติดทางหลวงแผ่นดิน เลขที่ ๓๑๙๙ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบริเวณพิกัด NS ๑๓๖๐๑๕ ไปทางทิศตะวันอออกเป็นแนวตรง ถึงลำห้วยหินหัก บริเวณพิกัด NS ๑๖๖๐๒๗ ไปตามกึ่งกลางลำห้วยหินหัก(จนสุดปลายลำห้วย) ไปตัดกับถนนสาย ๓๑๙๙ บริเวณพิกัด ติดต่อกับตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบริเวณพิกัด NS ๑๓๖๐๑๕  ไปทางทิศตะวันอออกเป็นแนวตรง ถึงลำห้วยหินหัก บริเวณพิกัด  NS ๑๖๖๐๒๗  ไปตามกึ่งกลางลำห้วยหินหัก(จนสุดปลายลำห้วย) ไปตัดกับถนนสาย ๓๑๙๙ บริเวณพิกัด NS ๑๘๕๐๓๑  ไปตามสันเขา ผ่านเนิน ๕๐๘  จนถึงลำห้วยช่องราน บริเวณพิกัด NS ๒๒๐๐๔๐  ไปตามกึ่งกลางลำห้วยช่องราน ถึงแยกลำห้วยหินดำ ไปตามลำห้วยหินดำ จนถึงบริเวณพิกัด  NS ๒๖๒๐๔๖   ผ่านเนิน ๘๒๖  เนิน ๘๕๘ ไปตามสันเขาหุบไผ่ บริเวณพิกัด  NS  ๒๗๒๐๔๓  ไปตามสันเขา สิ้นสุดที่ เนิน ๑๐๐๙  บริเวณพิกัด NS ๓๓๐๐๕๑  รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ  ๒๔  กิโลเมตร ไปตามสันเขา ผ่านเนิน ๕๐๘ จนถึงลำห้วยช่องราน บริเวณพิกัด NS ๒๒๐๐๔๐ ไปตามกึ่งกลางลำห้วยช่องราน ถึงแยกลำห้วยหินดำ ไปตามลำห้วยหินดำ จนถึงบริเวณพิกัด NS ๒๖๒๐๔๖ ผ่านเนิน ๘๒๖ เนิน ๘๕๘ ไปตามสันเขาหุบไผ่ บริเวณพิกัด NS ๒๗๒๐๔๓ ไปตามสันเขา สิ้นสุดที่ เนิน ๑๐๐๙ บริเวณพิกัด NS ๓๓๐๐๕๑ รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร

ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบลหนองรี และตำบลช่องด่าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากเนิน ๑๐๐๙ บริเวณพิกัด NS ๓๓๐๐๕๑  ไปทางทิศใต้ตามสันเขาหัวโล้นและสันเขาเก้งร้อง ผ่านเนิน ๑๐๗๙  เนิน ๗๔๒  เนิน ๖๘๖ ไปตามสันเขากระชาย ไปทางทิศใต้ สิ้นสุดที่เนิน ๑๐๐๘ บริเวณพิกัด NS ๓๔๓๙๓๙  รวมระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ  ๑๖  กิโลเมตร

ทิศใต้  ติดต่อกับตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากเนิน ๑๐๐๘ บริเวณพิกัด NS ๓๔๓๙๓๙  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงกึ่งกลางลำห้วยสะด่อง ไปตามกึ่งกลางลำห้วยลำสะด่อง  จนถึงปากลำห้วยโป่งกระทิง บริเวณพิกัด NS ๒๗๗๙๒๓  ไปทางทิศใต้ตามสันเขาผ่าน    เนิน ๕๕๐  เนิน ๕๘๑ เนิน ๔๔๑ เนิน ๕๓๐ ที่เขานาแดง สิ้นสุดที่บริเวณพิกัด NS ๑๙๑๙๔๓  รวมระยะทางด้านทิศใต้ ประมาณ  ๒๒  กิโลเมตร

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบริเวณพิกัด NS ๑๙๑๙๔๓   ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านที่ราบ ไปตัดกับถนนสาย ๓๑๙๙ บริเวณพิกัด NS ๑๕๔๙๗๓  ผ่านไปตามสันเขาผ่านเนิน ๓๐๔ เนิน ๓๐๒ จนถึงริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ บริเวณพิกัด NS ๑๔๑๐๐๒  ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแนวเส้นตรง สิ้นสุดที่ บริเวณพิกัด NS ๑๓๖๐๑๕  รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร

๑.๒ เนื้อที่

ตำบลหนองเป็ด  มีพื้นที่โดยประมาณ  ๒๙๘  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๑๘๖,๒๕๒  ไร่

๑.๓ ภูมิประเทศ

สภาพที่ตั้งอยู่บนภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง  ๒๔๐  เมตร พิกัด  ๑๔๒๙๖๓ มีสภาพทางกายภาพเป็นภูเขาสลับกับที่ราบ ติดบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์  และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ่

๑.๔ จำนวนหมู่บ้าน

แยกการปกครองออกเป็น ๔ หมู่บ้าน  จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน  ๔  หมู่  ได้แก่

หมู่ ๑ : บ้านเกาะบุก

หมู่ ๒ : บ้านสามสุ่ย

หมู่ ๓ : บ้านสองพี่น้อง

หมู่ ๔ : บ้านทุ่งนา

๑.๕ ประชากรทั้งสิ้น  ๒,๖๒๕  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  ๑๑.๕๑  คน/ตารางกิโลเมตร

หมู่ ๑ : ๖๙๕ คน / ชาย ๓๕๙ คน / หญิง ๓๓๖ คน

หมู่ ๒ : ๕๖๓ คน / ชาย ๒๙๑ คน / หญิง ๒๗๒ คน

หมู่ ๓ : ๔๘๒ คน / ชาย ๒๖๘ คน / หญิง ๒๑๔ คน

หมู่ ๔ : ๘๘๕ คน / ชาย ๔๖๑ คน / หญิง ๔๒๔ คน

รวม    ๒,๖๒๕ คน / ชาย ๑,๓๗๙ คน / หญิง ๑,๒๔๖ คน

(ข้อมูล เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๕)

๑.๖  ครัวเรือนทั้งหมด  ๙๒๘  หลัง

หมู่ ๑ :  ๒๔๔ หลัง

หมู่ ๒ :  ๒๑๖ หลัง

หมู่ ๓ :  ๑๕๗ หลัง

หมู่ ๔ :  ๓๑๑ หลัง


พิมพ์